ขั้นตอนการทำงานของ VAR ผู้ตัดสินที่ชี้เหตุการณ์สำคัญ

ในฟุตบอลไทย การใช้ VAR ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันมากมาย ก่อนที่เราจะงง เราจะพาทุกท่านทำการไปชมการทำงานของ VAR ใครมีสิทธิ์ในการทำงานอย่างไรในการดู VAR

 

ขั้นตอนการทำงานของ VAR ผู้ตัดสินที่ชี้เหตุการณ์สำคัญ

 

ขั้นตอนการทำงานของ VAR ผู้ตัดสินที่ชี้เหตุการณ์สำคัญ

VAR หรือ Video Assistant Referee คือระบบการตัดสินโดยใช้ภาพรีเพลย์หรือไฮไลต์การแข่งขัน เพื่อช่วยเหลือกรรมการผู้ตัดสินในสนามให้สามารถ ย้อนกลับไปดูเหตุการณ์เพื่อการตัดสินใจที่ชัดเจนขึ้น

โดยปรัชญาของการใช้เทคโนโลยีนี้คือ “Minimum interference – maximum benefit” 

“การแทรงแซงที่น้อยที่สุด – ที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ที่มากที่สุด”

ใช้ตอนไหนได้บ้าง?

เป้าหมายของ VAR นั้น ไม่ใช่การทำให้ทุกการตัดสินถูกต้อง 100% เพราะมันจะทำลายจังหวะและอารมของเกมการแข่งขัน

VAR สามารถแทรงแซงได้ในกรณีที่ ‘มีข้อผิดพลาดที่ชัดแจ้งและชัดเจน’ หรือ ‘เหตุการณ์สำคัญที่ผู้ตัดสินไม่เห็น’ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผลการแข่งขัน ประกอบไปด้วย

โดยผู้ตัดสิน/ผู้ช่วยผู้ตัดสิน จำเป็นต้องตัดสินใจเบื้องต้นก่อน (รวมถึงการตัดสินใจว่าไม่มีการกระทำผิด) ซึ่งจะมีการเปลี่ยนคำตัดสินถ้าภาพช้าแสดงให้เห็นว่ามีการสินที่ผิดพลาดอย่างชัดแจ้งและชัดเจน

นอกจากนี้ยังสามารถมีการตรวจสอบสำหรับเหตุการณ์สำคัญที่ผู้ตัดสินไม่เห็น เช่น การเล่นนอกเกมที่ส่งผลต่อใบแดง พร้อมกับสามารถตรวจสอบเหตุการณ์ที่มีการกระทำผิดของฝ่ายรุก ก่อนที่จะเป็นประตู หรือ จุดโทษ

อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจเรียกดู VAR ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ตัดสินเท่านั้น VAR สามารถแนะนำให้ผู้ตัดสินทำการเรียกดู VAR ได้ และคำตัดสินสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับผู้ตัดสินเสมอ

นอกจากนี้ การใช้ VAR จะไม่มีเวลาจำกัดในการตรวจสอบ เพราะความแม่นยำสำคัญกว่าความรวดเร็วในการตรวจสอบ ซึ่งการแข่งขันจะไม่ถือว่าเป็นโมฆะ หากมีการผิดพลาดทางเทคนิคหรือการตัดสินผิดพลาดเกี่ยวกับ VAR และทุกการแข่งขันใช้หลักการ VAR เดียวกันทั้งสิ้น

 

ขั้นตอนการทำงานของ VAR ผู้ตัดสินที่ชี้เหตุการณ์สำคัญ

 

มีวิธีใช้งานอย่างไร?

VAR จะทำการตรวจสอบอัตโนมัติ ในทุกกรณีที่ส่งผลต่อจังหวะเป็นประตู จังหวะจุดโทษ และ จังหวะใบแดง ผู้เล่นหรือผู้ฝึกสอน ไม่จำเป็นต้องขอให้มีการตรวจสอบ VAR

ผู้ตัดสินสามารถหยุดเกมเพื่อทำการตรวจสอบ หากทั้งสองทีมไม่ได้อยู่ในตำแหน่งการรุกที่ดี

หากมีการหยุดเกมเพื่อตรวจสอบ ผู้ตัดสินจะยกมือข้างหนึ่งมาไว้ที่หู และเอามือมีอีกข้างยื่นออกไปข้างหน้า เพื่อแสดงให้ผู้เล่นชลอการเริ่มเล่นระหว่างการตรวจสอบ

หลังจากการตรวจสอบโดย VAR สิ้นสุดลงแล้ว ผู้ตัดสินจะอนุญาตให้เริ่มเล่น โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำตัดสินเดิม หรือ แสดงสัญลักษณ์จอทีวี เพื่อแสดงให้เห็นว่าจะมีการตรวจสอบ ในกรณีที่ ‘มีข้อผิดพลาดที่ชัดแจ้งและชัดเจน’ หรือ ‘เหตุการณ์สำคัญที่ผู้ตัดสินไม่เห็น’

การตัดสินเกี่ยวกับกรณีที่เป็นความจริง (เช่นเหตุการณ์ล้ำหน้า หรือ บอลออกนอกสนาม) ผู้ตัดสินสามารถตัดสินใจได้เลยจากข้อมูลที่ได้รับจาก VAR ขณะที่การตัดสินเกี่ยวกับกรณีที่เป็นความคิดเห็น ผู้ตัดสินจะทำการขอเรียกดู VAR ภาพช้าข้างสนามเพื่อประกอบการตัดสินใจ

หลังจากที่ผู้ตัดสินได้ทำการตรวจสอบแล้ว ผู้ตัดสินจะแสดงสัญลักษณ์จอทีวีอีกครั้ง และให้คำตัดสินครั้งสุดท้าย รวมถึงการคาดโทษหรือไล่ออกผู้เล่นหากมีกรณีที่ทำผิดกฎกติกา

 

ขั้นตอนการทำงานของ VAR ผู้ตัดสินที่ชี้เหตุการณ์สำคัญ

 

ใครมีสิทธิทำหน้าที่?

การทำหน้าที่ VAR เกิดขึ้นที่ห้อง VAR (VOR) – เฉพาะทีมงานผู้ตัดสินที่ทำหน้าที่ VAR และเจ้าหน้าที่เทคนิคสามารถอยู่ในห้อง VAR ระหว่างเกมการแข่งขัน

สำหรับการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ จะมีทีมงานผู้ตัดสิน VAR สามคน ที่เป็นผู้ตัดสินและผู้ช่วยผู้ตัดสินระดับชั้น 1

ตำแหน่ง VAR คือผู้ตัดสินที่มีหน้าที่เป็นผู้นำของทีมงาน VAR และเป็นคนสื่อสารหลักกับผู้ตัดสินในสนาม

ตำแหน่ง AVAR1 คือผู้ช่วยผู้ตัดสินที่มีหน้าที่คอยช่วย VAR ตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ เช่นเหตุการณ์ล้ำหน้าหรือการทำผิดกฎกติกาอื่นๆ โดย AVAR1 จะทำการดูเหตุการณ์สดระหว่างที่ VAR ทำการตรวจสอบ

ตำแหน่ง AVAR2 คือผู้ตัดสินที่มีหน้าที่เสริมคอยช่วย VAR ตรวจสอบเหตุการณ์ต่างๆ ที่ยากหรือซับซ้อน

ทีมงานผู้ตัดสิน VAR จะทำงานกับเจ้าหน้าที่ replay operator ที่มีหน้าที่ในการหามุมกล้องและภาพช้าที่ชัดเจนที่สุดในความเร็วที่ดีที่สุด

 

ขั้นตอนการทำงานของ VAR ผู้ตัดสินที่ชี้เหตุการณ์สำคัญ

 

 

error: Content is protected !!